ขลิบไร้เลือด ลดโอกาสติดเอดส์ (HIV) ได้จริงมั้ย?
การขลิบไร้เลือด ได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน ไม่เพียงเพราะช่วยลดความเจ็บปวดและการเสียเลือดจากการขลิบเท่านั้น แต่ยังมีการศึกษาที่ชี้ว่า การขลิบไร้เลือดอาจช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ HIV ได้ด้วย หลายคนจึงตั้งคำถามว่า ขลิบไร้เลือด สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ได้จริงหรือไม่? และมีหลักฐานทางการแพทย์รองรับมากน้อยเพียงใด?
ในบทความนี้ Reverie Clinic จะพาคุณไปรู้จักกับประโยชน์ของการขลิบไร้เลือดในมุมของการป้องกันโรค พร้อมข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการตัดสินใจอย่างรอบคอบด้วยกันครับ
ขลิบไร้เลือด ลดโอกาสติดเอดส์ ( HIV) ได้จริงหรือไม่?
เป็นคำถามที่อยู่ในความสนใจของผู้คนไม่น้อยนะครับว่า การขลิบไร้เลือด ลดโอกาสติดเอดส์ ( HIV) ได้จริงหรือไม่? คำตอบก็คือ การขลิบหนังหุ้มปลายน้องชาย สามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีได้จริงครับ จากงานวิจัย พบว่า การขลิบไร้เลือดช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV ได้ประมาณ 60% (ในกรณีที่ผู้หญิงที่ติดเชื้อHIV ไปสู่ผู้ชายนะครับ) และนอกจากนั้น ยังมีผลงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งรายงานว่า ผู้ชายที่ขลิบไร้เลือดแล้ว จะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อHIV ได้มากกว่าผู้ชายที่ไม่ได้ขลิบถึงสองเท่าเลยทีเดียว และถ้าจะให้ดี ให้เลือกการขลิบไร้เลือด เพราะมีความปลอดภัยมากกว่าการขลิบแบบเดิมนั่นเองครับ
แต่อย่างไรก็ตาม การขลิบน้องชาย ก็ยังไม่ใช่ยาวิเศษที่จะป้องกันเชื้อเอดส์ได้ 100% นะครับ เป็นแค่การลดความเสี่ยงเท่านั้น แต่หมอปั๊ม เพิ่มขนาดแนะนำให้ป้องกันด้วยวิธีอื่นร่วมด้วยเสมอ เช่น การใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้นครับ เพราะนอกจากการขลิบไร้เลือดจะช่วยป้องกันเชื้อ HIV แล้ว ยังช่วยลดโอกาสติดโรคทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นซิฟิลิส, หูดหงอนไก่, เริม หนองใน เป็นต้น
ทำไมการทำขลิบไร้เลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ได้?
สาเหตุที่การขลิบไร้เลือด สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ได้นั้น หมอปั๊ม เพิ่มขนาด จาก Reverie Clinic ได้ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์กับเราว่า บริเวณหนังหุ้มปลายน้องชาย เป็นที่ที่เก็บสะสมสารคัดหลั่ง แบคทีเรีย และสิ่งสกปรกมากมาย ดังนั้นเมื่อหนังหุ้มปลายหายไป จึงทำให้โอกาสในการติดเชื้อลดลงด้วย เพราะว่า..
1. พื้นที่สัมผัสเชื้อโรคลดลง
เนื่องจากหนังหุ้มปลายน้องชายเป็นบริเวณที่อับชื้น ดังนั้นในช่วงมีเพศสัมพันธ์จะเกิดรอยขีดข่วนเล็ก ๆ ได้ง่าย ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับเชื้อHIV เพราะเมื่อมีแผล เชื้อไวรัสก็จะเข้าไปในร่างกายได้ง่าย หมอปั๊ม เพิ่มขนาดแนะนำว่า การขลิบไร้เลือดบริเวณหนังหุ้มปลายออกไป ก็จะทำให้เชื้อHIV มีโอกาสเข้าสู่ร่างกายได้น้อยลง
2. การอักเสบที่หัวน้องชายลดลง
หนังส่วนเกินที่หัวอวัยวะเพศชาย ทำให้เกิดการหมักหมม นำไปสู่การอักเสบเรื้อรัง ทำให้เนื้อเยื่อตรงปลายน้องชายอ่อนแอ และมีรอยแผลเกิดขึ้นได้ง่าย ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อเกิดรอยแผล ก็จะทำให้เชื้อโรค และเชื้อไวรัสต่าง ๆ มีโอกาสเข้าไปในร่างกายมากขึ้น เพราะฉะนั้น การขลิบไร้เลือดที่หนังหุ้มปลาย จะช่วยลดความเสี่ยงในจุดนี้ได้ครับ
3. บริเวณสะสมเชื้อโรคลดลง
อย่างที่หมอปั๊ม เพิ่มขนาด ที่ Reverie Clinic ได้อธิบายไปตั้งแต่ต้นว่า หนังหุ้มปลายคือแหล่งสะสมเชื้อโรค สิ่งสกปรก และสารคัดหลั่งต่าง ๆ หลังมีเพศสัมพันธ์ หากทำความสะอาดน้องชายไม่ดี สารคัดหลั่งของคู่นอน อาจจะตกค้างที่ผิวด้านในหนังหุ้มปลายได้ จึงเพิ่มโอกาสติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้นด้วย การขลิบไร้เลือด จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือก เพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับคุณชายทั้งหลายครับ
4. ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น
การขลิบไร้เลือด ช่วยให้ทำความสะอาดอวัยวะเพศได้ง่ายขึ้น เพราะเมื่อระยะเวลาที่เชื้อโรคอยู่บนผิวน้อยลง โอกาสที่เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายก็ลดลงด้วย จึงช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไปได้อีกทางครับ
ประโยชน์อื่น ๆ ของการทำขลิบไร้เลือด มีอะไรบ้าง?
สรุป
คงได้คำตอบกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับ ว่าการขลิบไร้เลือดสามารถช่วยลดโอกาสติดเอดส์ได้จริง ช่วยลดโอกาสติดเชื้อ HIVได้ถึง 60% เลยทีเดียว แต่หมอปั๊ม เพิ่มขนาด ขอบอกก่อนนะครับว่า การขลิบไร้เลือดไม่ได้ป้องกันการติดเอดส์ได้ 100% เป็นเพียงแค่การลดโอกาสเท่านั้น แนะนำให้ใช้การป้องกันแบบอื่นร่วมด้วย เช่นการใส่ถุงยางอนามัย เป็นต้น นอกจากนั้น การขลิบไร้เลือด ยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้อีกด้วย
เรียกได้ว่าการขลิบไร้เลือด เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี และมีประโยชน์ในแง่อื่น ๆ อีกหลายประการเลยครับ ใครยังลังเลเรื่องการขลิบไร้เลือดอยู่แล้วล่ะก็ หมอปั๊ม เพิ่มขนาด สามารถให้คำแนะนำที่ชัดเจน เพื่อให้คุณได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อประกอบการตัดสินใจ แวะมาปรึกษาคุณหมอได้ที่ Reverie Clinic กันนะครับ เรามีบริการทั้งก่อนและหลังทำขลิบไร้เลือด เพื่อให้คุณมั่นใจในผลลัพธ์และความปลอดภัยแบบสูงสุดเลยครับ
คำถามที่พบบ่อย
ข้อมูลอ้างอิง
[1] Weiss, Helen A.; Quigley, Maria A.; Hayes, Richard J.
[2] Bertran Auvert , Dirk Taljaard, Emmanuel Lagarde, Joëlle Sobngwi-Tambekou, Rémi Sitta, Adrian Puren